
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจุบันนี้ยานพาหนะนั้นมีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวันเป็นอย่างมาก สามารถมอบความสะดวกสบาย และประหยัดเวลาในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การมียานพาหนะเป็นของตนเองจะต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมมากมาย เช่น เสียค่าซ่อมแซมบำรุงรักษา ค่าประกันภัยรถ รวมไปถึง พ.ร.บ. ที่จะต้องต่อทุกปีอีกด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นสิ่งจำเป็นและจะต้องรับผิดชอบในทุกๆปีอีกด้วย
วันนี้เราจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับการต่อ พ.ร.บ. รถในทุกปีมาฝากกัน ว่าเงินที่เสียไปนั้นมีประโยชน์และสำคัญอย่างกับตัวผู้ขับขี่เอง สามารถติดตามข้อมูลกันได้เลย
– ประกันภัย พ.ร.บ. คืออะไร ?

พ.ร.บ. ถือเป็นประกันภัยรถยนต์อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นประกันภัยภาคบังคับที่รถยนต์ทุกคันจะต้องมี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งทางกฏหมายจะระบุไว้ว่าให้ยานพาหนะทุกคันและทุกประเภทที่ได้ผ่านการจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำประกันประเภทนี้ มีประโยชน์ไว้เพื่อคุ้มครองภัยให้ตัวผู้ขับขี่เองในกรณีได้รับอุบัติเหตุ ซึ่งตัว พ.ร.บ.. จะคุ้มครองผู้ขับขี่ทุกกรณีโดยที่ไม่คำนึงว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นจะเป็นฝ่ายผิดหรือไม่ซึ่งแตกต่างจากประกันทั่วไป
โดยในทางกฏหมายแล้วรถที่มี พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครองต่อตัวคู่กรณีและผู้เอาประกัน เมื่อเกิดอุบัติเหตุตามเงื่อนไขที่ทางกฏหมายกำหนดไว้นั่นเอง นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเราถึงจำเป็นต้องต่อ พ.ร.บ. ในทุกๆปี และห้ามให้ พ.ร.บ. ขาด เพื่อสิทธิประโยชน์ในการใช้รถใช้ถนนของเรานั่นเอง หลายคนยังคงสงสัยว่าแล้วถ้าไม่ต่อประกัน พ.ร.บ. ทุกปีได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้ รถทุกคันจะต้องมี พ.ร.บ. หากไม่มี หรือ พ.ร.บ. ขาด จะต้องมีโทษปรับทางกฏหมาย ไม่เกิน 10,000 บาท หรือถ้าหากกลัวลืม ผู้ขับขี่สามารถต่อก่อนล่วงหน้าได้โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน

ในส่วนของสิทธิประโยชน์อื่นๆที่ผู้ขับขี่จะได้รับนั้น จะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท แต่หากอุบัติเหตุนั้นทำให้ถึงแก่ชีวิต หรือสูญเสียอวัยวะ จะชดเชยไม่เกิน 500,000 บาท ต่อคน โดยที่วงเงินรวมที่จะชดเชยทั้งหมด ไม่เกิน 5,000,000 บาท/ครั้ง ซึ่งในการต่อประกัน พ.ร.บ. สำหรับรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เบี้ยจะอยู่ที่ประมาณ 645 บาทต่อปี และ รถจักรยานยนต์ ประมาณ 323 บาทเท่านั้น หากเทียบกับความคุ้มครองแล้ว ถือว่ามีประโยชน์และคุ้มค่าอย่างมาก
สำหรับใครที่มียานพาหนะป็นของตัวเองอย่าลืมที่จะตรวจสอบวันหมดอายุของ พ.ร.บ. กันด้วยนะ เพื่อสิทธิประโยชน์ของตัวเราเอง
#F1rumors #Car #Bigbike #Motorsport #ประกันภัยพ.ร.บ